มาทำความรู้จักกับ “ทองไมครอน”กันเถอะ
ทองไมครอน คือ ทองที่ชุบด้วยไฟฟ้า หนาตามจำนวนไมครอน เครื่องประดับทองไมครอน คือ เครื่องประดับที่ไม่ใช่ทอง ถูกนำมาชุบด้วยทองและเคลือบติดกับตัวเรือน ทำให้มีสีและคุณสมบัติเหมือนทองทุกประการโดยคุณสมบัติความทนทาน จะขึ้นอยู่กับอัตราไมครอนที่สะสมอยู่ในเครื่องประดับนั้นๆ
ไมครอน คือ หน่วยวัดปริมาณความหนาของพื้นผิวทองที่ชุบ โดยจะมีตั้งแต่ 1, 3 ไปจนถึง 5 ไมครอน ยิ่งตัวเลขมีมาก ปริมาณความแข็งของตัวเนื้อที่ชุบก็มาก และมีสีสันดึงดูดตา แต่ถ้ามีปริมาณน้อย ก็จะทำให้ปริมาณความแข็งของตัวเนื้อบางลง และทำให้มีสีดำ อายุการใช้งานจะสั้น หากผ่านการชุบมาไม่ดี ก็อาจลอกได้ โดย 5 ไมครอน คือหน่วยวัดปริมาณความแข็งที่เยอะที่สุด และมีคุณภาพดีและทนทานมากที่สุดด้วย ส่วนถ้าใครมีเครื่องประดับไมครอนไว้ครอบครองและใส่บ้างเป็นบางเวลา ควรล้างเครื่องประดับด้วยน้ำสะอาดเพื่อชะล้างคราบเหงื่อและฝุ่นผง จากนั้นซับให้แห้ง แนะนำให้ใส่ในขณะอาบน้ำเพื่อเป็นการชะล้างไปในตัว
วิธีการดูแลรักษา
– ควรถอดเครื่องประดับก่อนล้างมือ หรืออาบน้ำ
– ใช้น้ำยาล้างจานชุบ เพื่อให้เครื่องประดับดูแวววาวขึ้น
– ไม่ควรใช้น้ำสบู่ล้าง เพราะน้ำสบู่มีส่วนผสมของไขมันอยู่ มีความเป็นด่างสูง
-หลีกเลี่ยงการโดนขูดขีดให้มีรอย เพื่อให้เครื่องประดับคงความสวยงาม
เศษทอง
เศษทอง หรือ เซียวซิ (Production Lost) คือ สะเก็ดทองคำที่หลุดออกมาจากการตกแต่งเรือนเครื่องประดับด้วยตะไบ ซึ่งสามารถเอาเศษพวกนี้ ไปประดับตกแต่งลวดลายบนตัวทองได้อีกด้วย โดยการทำลวดลายนั้น
ในการทำทองรูปพรรณโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียเศษทองตามมาตรฐาน มีค่าประมาณดังนี้
ทองคำรูปพรรณน้ำหนัก 1 สลึง
เนื้อทอง 3.79 กรัม เศษทองที่สูญเสียระหว่างทำตัวเรือน 0.95 กรัม
ทองคำรูปพรรณน้ำหนัก 2 สลึง
มีเนื้อทอง 7.58 กรัม เศษทองที่สูญเสียระหว่างทำตัวเรือน 1.89 กรัม
ทองคำรูปพรรณน้ำหนัก 1 บาท
มีเนื้อทอง 15.16 กรัม เศษทองที่สูญเสียระหว่างทำตัวเรือน 3.79 กรัม
ทองคำรูปพรรณน้ำหนัก 2 บาท
มีเนื้อทอง= 30.32 กรัม เศษทองที่สูญเสียระหว่างทำตัวเรือน 7.58 กรัม
ทองคำรูปพรรณน้ำหนัก 3 บาท
มีเนื้อทอง= 45.48 กรัม เศษทองที่สูญเสียระหว่างทำตัวเรือน 11.37 กรัม
ค่ากำเหน็จ
คือ ค่าแรงหรือค่าจ้างในการผลิตทองคำ จากทองคำแท่งไปทองรูปพรรณต่างๆ มักขึ้นอยู่กับความยากง่ายของกระบวนการผลิตและการขึ้นเรือนด้วยมือเพียงชิ้นเดียว
ค่าบล็อค
คือ การนำทองมาหลอมจนละลายแล้วเทลงไปในบล็อคให้เป็นแท่งบล็อค โดยราคาจะคิดแตกต่างกันออกไปเช่น
ทองคำน้ำหนัก 2 สลึง จะมีค่าบล็อค 130 บาท
ทองคำน้ำหนัก 1 บาท จะมีค่าบล็อค 150 บาท ๆ
ทองคำน้ำหนัก 2 บาท จะมีค่าบล็อค 200 บาท เป็นต้น